เหยื่อโอฐภัยจากการสื่อสารของ จักรภพ เพ็ญแข

เช้าวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 หนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ ต่างพร้อมใจกันลงข่าวนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีโอกาสที่จะถูกลอยแพจากพรรคพลังประชาชน เนื่องจากการพูดจาจาบจ้วงหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมานับสัปดาห์แล้ว รวมถึงถูกยื่นถอดถอนจากตำแหน่งในวุฒิสภาโดย พรรคประชาธิปัตย์

ข่าวที่นำมาซึ่งการตีความของสื่อว่านายจักรภพ เพ็ญแข จะถูกลอยแพนั้น อ้างอิงมาจากคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ต่อเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าเยี่ยมอวยพรวันเกิด และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความห่วงใยในเรื่องที่นายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวจาบจ้วงล่วงเกินสถาบัน ทั้งยังสำทับว่า นายจักรภพ เพ็ญแข ต้องรับผิดชอบคำพูดของตัวเอง และปฏิเสธข่าวที่นายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า ตนจะช่วยเคลียร์ปัญหานี้ให้
อ่านเพิ่มเติม

สงครามสื่อ CD VCD DVD ต้นทุนต่ำ ราคาถูก และได้ผล

Cd-vcd-dvdเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง ทำให้การผลิตสินค้าได้เป็นปริมาณมาก  โดยใช้เวลาน้อย ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง ขายราคาถูก ผู้ซื้อมีกำลังในการซื้อ ในหลายกรณีสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกได้  เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของผู้ผลิตที่จะทำให้ผู้บริโภครู้จักและทดลองใช้สินค้า

แผ่นกลมๆที่ผลิตขึ้นจากวัสดุพลาสติกสงเคราะห์ที่เรียกกันว่า CD ก็เป็นสินค้าอีกอย่างหนึ่งที่ผลิตได้ทีละมากๆ  ทำให้ต้นทุนต่ำลง แผ่น CD ที่ขายปลีกอยู่ทั่วไปขนากความจุ 700 เม็กกะไบต์ ราคาแผ่นละไม่ถึง 10 บาท ซึ่งแผ่น CD ดังกล่าวสามารถนำมาใช้บันทึกข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง  รวมถึงแผ่น DVD ที่มีความจุมากกว่าปัจจุบันก็ราคาถูกลงเป็นอันมาก

เมื่อแผ่น CD ราคาถูกลง รวมถึงเครื่องเล่น CD,VCD,DVD ก็ราคาถูกลง ปัจจุบันราคาต่ำสุดก็ไม่ถึง 1,000 บาทแล้ว ทำให้ผู้คนทุกระดับชั้นรายได้ใช้มีกำลังซื้อกันอย่างถ้วนหน้า  นำไปสู่การผลิตสื่อในรูปแผ่น CD,VCD,DVD มีช่องทางในการจำหน่ายได้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องบันเทิงเริงรมย์  ได้รับความนิยมเผยแพร่ในรูปแผ่น CD,VCD,DVD กันอย่างแพร่หลาย

แผ่น CD,VCD,DVD จึงกลายเป็นสื่อต้นทุน ราคาถูก เข้าถึงผู้บริโภคทุกครัวเรือน เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนไปแล้วในปัจจุบัน

การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร จึงนิยมทำผ่านแผ่น CD,VCD,DVD มากขึ้น  ทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน และบุคคลธรรมดา  ที่นิยมบันทึกข้อมูลเรื่องราวต่างๆลงแผ่น CD,VCD,DVD เพื่อแจกจ่ายแก่กลุ่มเป้าหมาย 

อิทธิพลของสื่อประเภทนี้ เท่าที่ทราบยังไม่มีการทำวิจัยทางวิชาการให้เห็น (หรือมีแล้วแต่ผู้เขียนไม่ทราบก็อาจเป็นได้)  แต่เท่าที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ นับว่าสื่อ CD,VCD,DVD ได้มร้างผลสะเทือนให้เกิดขึ้นแก่สังคมอยู่ไม่น้อย  เช่น

อ่านเพิ่มเติม

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กราบแผ่นดิน : การใช้สื่อของมือระดับเทพ

ทักษิณกราบแผ่นดิน

 

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้สื่ออย่างหาตัวจับยาก  เริ่มตั้งแต่การใช้ประโยชน์ทางธุรกิจจากสื่อ ด้วยการก่อตั้งบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ ขยายกิจการเข้าสู่สื่อสมัยใหม่คือธุรกิจโทรศัพท์มือถือ จนกระทั่งเปิดศักราชใหม่ให้แก่ประเทศไทยด้วยการเป็นเจ้าของดาวเทียมดวงแรกของไทย คือ ไทยคม 1  กิจกรรมทางธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจึงเกี่ยวข้องกับสื่อ  กลายเป็นมหาเศรษฐีเพราะธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม

การที่ได้รับฉายาอัศวินคลื่นลูกที่สาม จึงไม่ใช่ฉายาที่เกินเลยความจริงเลย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าในงานธุรกิจหรืองานการเมือง  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองอย่างได้ผล  โดยเฉพาะสื่อสาธารณะ อันได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นั้น กลายเป็นเครื่องมือในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แก่อัศวินคลื่นลูกที่สามได้อย่างเต็มที่

กล่าวเฉพาะในงานการเมือง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้ประโยชน์จากสื่ออย่างที่ไม่มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดทำได้ขนาดนี้มาก่อน  มีกรณีที่ควรค่าแก่การศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก  หลายกรณีถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการใช้ประโยชน์จากสื่อสาธารณะ  ซึ่งในที่นี้จะขอยกมาพิจารณาสัก 4 กรณี คือ

อ่านเพิ่มเติม

ใครๆก็(ไม่)ชอบสื่อ

Michel Foucault  

มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)                                                   นักคิดทฤษฎีผู้มีชื่อเสียงชาวเมืองไวน์ฝรั่งเศส   กล่าวว่า  สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจอันได้ผลชะงัด  ผู้ใดครอบครองสื่อ ผู้นั้นก็เป็นเจ้าของอำนาจ  หากพูดถึงอำนาจแล้ว ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คืออำนาจทางการเมือง ดังนั้น จึงปรากฏอยู่เสมอว่า ใครๆที่เป็นนักการเมืองจึงชอบสื่อ

โลกของสื่อกับโลกของนักการเมือง จึงต้องผู้ติดอยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ออก  ไม่ว่าจะในสังคมไทยหรือต่างประเทศ  ไม่ว่าในประเทศร่ำรวยหรือยากจน  ในหลายประเทศเจ้าของสื่อเข้าไปเป็นผู้มีอำนาจทางการเมือง หรือผู้มีอำนาจทางการเมืองหาทางเข้าครอบครองสื่อ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเมือง หรือไม่ก็ใช้อำนาจควบคุมสื่อไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เพื่อไม่ให้สื่อบ่อนเซาะอำนาจของตน

นักการเมืองทั้งหลายชอบสื่อ  เพราะสื่อเป็นเวทีสำคัญที่ทำให้สามารถแสดงตนต่อสาธารณชนได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว  เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน  จนอาจกล่าวได้ว่า  โทรทัศน์คือผู้มีอิทธิพลตัวจริงต่อผู้คน  เป็นผู้กำหนดเวลาทำกิจกรรมต่างๆในชีวิต  ทั้งเวลาตื่น เวลานอน เวลาออกจากบ้าน เวลากลับบ้าน  เรื่องราวทั้งหลายที่เสนอผ่านจอโทรทัศน์ล้วนส่งผลต่อผู้คนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ตัวอย่างง่ายๆก็คือแม้แต่นักแสดงเป็นตัวร้ายในละครน้ำเน่ายังถูกมองด้วยความเกลียดชังจากคนดูผู้สงสารนางเอก เมื่อนักแสดงคนนั้นไปเดินซื้อของในตลาด

จึงไม่ต้องสงสัยว่า เหตุใดเมื่อมีกิจกรรมทางการเมือง อย่างเช่น การประชุมสภาก็ดี หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลก็ดี  เมื่อมีการถ่ายทอดผ่านสื่อ บรรดานักการเมืองทั้งหลายไม่ว่าฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลต่างก็พยายามเสนอหน้าผ่านอภปรายเพื่อให้ได้ปรากฎในสื่อ ส่งสารไปถึงประชาชนในเขตเลือกตั้งของตนว่ากำลังทำหน้าที่ผู้แทนอย่างขันแข็ง           

แต่ถ้าหากในอีกกรณีตรงกันข้าม  นั่นคือ การที่สื่อขุดคุ้ยเรื่องไม่ดีไม่งามที่ตนมีส่วนหรือจะเกิดความเสียหายแก่ตน  นักการเมืองทั้งหลายมักจะโยนความผิดไปให้สื่อ  ซึ่งหนีไม่พ้นข้อหาบิดเบือน ลงข่าวไม่หมด  หรือสื่อพูดไปเอง เขียนไปเอง เป็นต้น  เมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้น ใครๆที่เกี่ยวข้องก็ไม่ชอบสื่อ             ดังนั้นจึงปรากฏเสมอมาว่า นักการเมืองผู้ที่อยู่กับอำนาจจึงทั้งรกและทั้งเกลียดสื่อ  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นๆ ว่าสื่อจะส่งผลเช่นใดแก่ตน   ในกรณีที่รู้จักใช้สื่อให้เป็นประโยชน์พอเหมาะ  ก็จะทำให้สามารถอยู่ในอำนาจนานได้เช่นกัน           

สื่อจึงมีคุณสมบัติพิเศษ ที่นักการเมืองและผู้มีอำนาจทั้งหลาย จะทั้งรักทั้งเกลียด  ซึ่งสื่อแต่ละประเภทมีคุณสมบัติเฉพาะของมัน ในขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติร่วมในฐานะสื่อ  ซึ่งจะกล่าวต่อไปอันที่จริงแล้ว คุณสมบัติที่จะเขียนถึงต่อไปนี้  เป็นเรื่องที่คนทั้งหลายทราบกันดีแล้ว แต่อาจจะลืมกันไปบ้าง  จึงขอยกขึ้นมากล่าวถึงเพื่อเตือนความทรงจำ และเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของสื่อ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง คือ

อ่านเพิ่มเติม

ปรากฏการณ์ขาประจำ: “สื่อ” และ “สาร” ทางการเมืองของประชาชน

ปรากฏการณ์ขาประจำ: “สื่ย?? และ “สาร” ทางการเมืภ??ขภ??ประชาชน

เกริ่น

บทความนี้เขียนขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไฮไลท์การเมือง อันเป็นช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยที่ 2 ซึ่งมีความขัดแย้งทางความคิดระหว่างรัฐบาลอันหมายถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับภาคประชาชนและนักวิชาการ รวมถึงเกิดรอยร้าวในพรรคไทยรักไทย โดยการนำของนายเสนาะ เทียนทอง ที่วิพากษ์วิจารณ์หัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรี จนนำมาสู่การขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในเวลาต่อมา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้วิวาทะกับนักวิชาการที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ตนอย่างดุเดือด โดยเรียกว่า “นักวิชาการขาประจำ” คือคอยแต่จะวิพากษ์วิจารณ์เพียงอย่างเดียวในสายตาของนายกรัฐมนตรี และนักวิชาการ”ขาประจำ” ดังกล่าว ก็มี นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นต้น การนำบทความเชิงวิเคราะห์ข่าวมาเผยแพร่อีกครั้ง ก็เพื่อเป็นการบันทึกไว้ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาถึงเรื่องดังกล่าวในกาลข้างหน้า ซึ่งถือได้ว่า บทความนี้ก็เป็นบันทึกส่วนหนึ่งของสังคมด้วยเช่นกัน 

โกศล อนุสิม

29 กุมภาพันธ์ 2551

ขอเชิญอ่านบทความแบบเต็มๆครับ…

อ่านเพิ่มเติม