“การสื่อสารสาธารณะ” กับ “ไวยากรทางจริยธรรม”

“การสื่ภ??ารสาธารณะ” กับ “ไวยากรทางจริยธรรม”ดร.บุญรักษ์    บุญญะเขตมาลา  นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอแนวคิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ  “การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ คือ

1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน

2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อคิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality  of opportunity among ideas)

3.  นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรองเรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ตามหลักของความโปร่งใสด้วย

4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ

อ่านเพิ่มเติม