เหยื่อโอฐภัยจากการสื่อสารของ จักรภพ เพ็ญแข

เช้าวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 หนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ ต่างพร้อมใจกันลงข่าวนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีโอกาสที่จะถูกลอยแพจากพรรคพลังประชาชน เนื่องจากการพูดจาจาบจ้วงหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมานับสัปดาห์แล้ว รวมถึงถูกยื่นถอดถอนจากตำแหน่งในวุฒิสภาโดย พรรคประชาธิปัตย์

ข่าวที่นำมาซึ่งการตีความของสื่อว่านายจักรภพ เพ็ญแข จะถูกลอยแพนั้น อ้างอิงมาจากคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ต่อเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าเยี่ยมอวยพรวันเกิด และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความห่วงใยในเรื่องที่นายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวจาบจ้วงล่วงเกินสถาบัน ทั้งยังสำทับว่า นายจักรภพ เพ็ญแข ต้องรับผิดชอบคำพูดของตัวเอง และปฏิเสธข่าวที่นายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า ตนจะช่วยเคลียร์ปัญหานี้ให้
อ่านเพิ่มเติม

นวัตกรรมสื่อ : เทคโนโลยี พฤติกรรม และ จริยธรรมของสื่อมวลชน (2-จบ)

ในตอนที่แล้ว ได้ยกเอาจรรยาบรรณของสื่อมวลชนที่กำหนดโดยสมาคมวิชาชีพหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ที่ตราขึ้นเพื่อให้สมาชิกยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยพร้อมเพรียงและเท่าเทียมกัน

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า หลักแห่งจริยธรรมหรือจรรยาบรรณดังกล่าว มักถูกละเมิดโดยสื่ออยู่เสมอ เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการกระทำของสื่อ ข้ออ้างที่สื่อหยิบหยกขึ้นมาโต้แย้งก็คือ เรื่องเสรีภาพในการเผยแพร่ข่าวสาร หากมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งทางกฎหมายหรือทางสังคมต่อสื่อ ถือก็มักโต้ตอบกลับว่าเป็นการคุกคามสื่อ

แต่ในมุมมองของผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของสื่อ ก็มองได้ว่า ตนถูกสื่อคุกคามสิทธิและเสรีภาพเช่นกัน ดังนั้น จึงมีข้อที่จะต้องพิจารณาต่อว่า สื่อได้ใช้ข้ออ้างในเรื่องเสรีภาพการเสนอข่าวสารโดยเกินขอบเขตจนละเมิดผู้อื่นหรือไม่ เพราะในจริยธรรมหรือจรรยาบรรณนั้น แม้จะรับรองสิทธิเสรีภาพของสื่อ แต่ก็ต้องไม่ละเมิดผู้อื่น

การละเมิดจริยธรรมหรือจรรยาบรรณของสื่อ หรือหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่เสมอๆ เช่น
อ่านเพิ่มเติม

นวัตกรรมสื่อ : เทคโนโลยี พฤติกรรม และ จริยธรรมของสื่อมวลชน (1)


สื่อมวลชนที่เป็นเสาหลักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ยังคงเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ เพราะสามารถกระจายข่าวสารได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด แม้จะเกิดสื่อสมัยใหม่หรือสื่อทางเลือกขึ้น อันได้แก่ สื่อออนไลน์ สื่อดิจิตอล แต่การเข้าถึงผู้รับข่าวสารยังอยู่ในวงจำกัด ดังนั้น สื่อกระแสหลักดั้งเดิมคือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จึงยังมีอิทธิพลต่อผู้คนเช่นเดิม

แต่อิทธิพลของสื่อกระแสหลักดังกล่าว กำลังถูกท้าทายจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆแก่สื่อเป็นอันมาก โดยเฉพาะในด้านเทคนิคที่เครื่องมือเครื่องใช้ได้รับการพัฒนาให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ราคาถูกลง ประสิทธิภาพดีขึ้น ดังนั้น การเป็นเจ้าของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หากพิจารณาในเรื่องการลงทุนแล้ว สามารถทำได้ง่ายขึ้น จึงปรากฏว่า มีสื่อสิ่งพิมพ์น้อยใหญ่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งเพื่อการเสนอข่าวสาร เพื่อให้ความรู้ เพื่อความบันเทิง และเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นการเฉพาะมากขึ้น สถานีวิทยุก็สามารถจัดตั้งได้ในทุกสถานที่คือวิทยุชมชน ส่วนสถานีโทรทัศน์ก็ไม่มีความยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน เพราะปัจจุบันสามารถจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม โดยใช้ทุนและเวลาไม่มากนัก ดังนั้น นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการสื่อสาร จึงทำให้เกิดนวัตกรรมของสื่อรูปแบบใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น กระจายข้อมูลข่าวสารถึงผู้รับอย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม

จะต้องทำสงครามก่อนเพื่อมีสันติภาพภายหลังอย่างนั้นหรือ

ผมเป็นคนหนึ่งที่มีความรักและห่วงใยประเทศชาติเช่นเดียวกับคนไทยทุกคน ที่ต้องการเห็นบ้านเมืองมีความสงบ ผู้คนตกลงกันด้วยเหตุด้วยผล อยู่กันด้วยความแตกต่าง โดยไม่แตกแยกกัน ไม่ใช้กำลังในการตัดสินปัญหา ซึ่งดูเหมือนว่า สถานการณ์ในทางสังคมและการเมืองของประเทศเราทุกวันนี้ เป็นไปได้ยากที่จะตกลงกันด้วยเหตุผลและสันติวิธี

คนไทยตั้งหน้าตั้งตาใช้ความคิดที่แตกต่าง สร้างกำแพงปิดกั้นฝ่ายอื่นไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามาในอาณาเขตความคิดของตน ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ความแตกต่าง สร้างภาพอีกฝ่ายเป็นศัตรู ไม่เพียงแต่เฉพาะศัตรูตนเองเท่านั้น แต่เป็นศัตรูของชาติด้วย

เมื่อต่างฝ่ายต่างสร้างอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูของชาติ และแต่งตั้งตนเป็นผู้พิทักษ์รักษาชาติ การแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรงย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อต่างฝ่ายต่างคิดว่าตัวเองมีความชอบธรรมที่จะกำจัดศัตรูของชาติให้สิ้นซาก

เราไม่มีทางที่จะตกลงกันด้วยเหตุผลและสันติวิธีแล้วหรือ?
อ่านเพิ่มเติม

นวัตกรรมการสื่อสารผ่านบล็อก

ทุกวันนี้กระแส “นวัตกรรม” (Innovation) นับเป็นกระแสหนึ่งที่กำลังมาแรง นวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดของคน มีการพูดถึงนวัตกรรมกันในทุกวงการ โดยเฉพาะสินค้าและการบริการ จำเป็นต้องมีนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องประโยชน์ใช้สอย และในเรื่องความพึงพอใจล้วนๆ

ยกตัวอย่าง บรรดาครีมบำรุงผิวทั้งชายหญิง ต่างก็มีการวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆเพิ่มประสิทธิภาพของการบำรุงผิวให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น แต่ละยี่ห้อก็โฆษณาประชาสัมพันธ์ชนิดที่เรียกว่าคู่แข่งรั้งท้ายมองไม่เห็นฝุ่น มันฝรั่งบางยี่ห้อก็มีนวัตกรรมสร้างความตื่นเต้นเร้าใจแก่ผู้บริโภค ด้วยการใส่สีเพื่อทำให้ลิ้นเปลี่ยนสีขณะที่เอร็ดอร่อยกับรสชาติของมันฝรั่ง เครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้านก็มีนวัตกรรมไม่แพ้สินค้าอย่างอื่น อาทิ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ก็มีสารเพิ่มประสิทธิภาพในการซอกซอนชะล้างคราบสกปรก ดังที่ปรากฏในโฆษณาทางโทรทัศน์จนเกินจะจินตนาการได้

นวัตกรรมสร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์ อย่างเช่น ชาวนาปัจจุบันได้ใช้นวัตกรรมเครื่องจักรช่วยทำนาแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ไถนาไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เครื่องจักรทำให้ทุกกระบวนการ ควายจึงตกงานแล้วถูกต้อนเข้าโรงฆ่าสัตว์แทนลงทุ่งไถนา ชาวนาปลูกข้าวได้ปีละ3-4 ครั้ง ได้ผลผลิตมากขึ้น เหลือเพียงอย่างเดียวคือไม่มีนวัตกรรมใดๆที่ทำให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาที่เหมาะสมโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง คงรออีกนานหรืออาจจะไม่มีนวัตกรรมนี้เลยก็ได้
อ่านเพิ่มเติม

บางถ้อยคำใน “ผู้จัดการ” เป็นสิ่งสมควรที่จะปรากฏใน “สื่อสาธารณะ” หรือไม่

ผมคิดอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ โดยเฉพาะเขียนในบล็อก Kosolanusim ของผมที่ mBlog อันเป็นหนึ่งในสื่อออนไลน์ของเครือผู้จัดการ ในที่สุดผมก็ตัดสินใจเขียนและโพสต์ที่ mBlog

เหตุผลที่ผมเขียนเรื่องนี้ โดยเผยแพร่ที่เครือผู้จัดการ ก็เพราะ

1.ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการคนหนึ่ง นับตั้งแต่เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ที่ถนนราชดำเนิน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเป็นสื่อที่ยืนอยู่ข้างประชาชน ด้วยการพิมพ์แจกจ่ายผู้เข้าร่วมชุมนุมและผู้สนใจทั่วไป อันเป็นการเสนอข้อมูลข่าวสารที่ยืนอยู่ตรงกันข้ามกับสื่อของรัฐให้ประชาชนได้รับรู้ เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงตามหน้าที่ของสื่อ ถึงแม้อาจมีคนบางส่วนมองว่า เป็นการ “แปลงวิกฤติให้เป็นโอกาสทางการตลาด” ก็ตาม เพราะได้พิสูจน์ในกาลต่อมาว่า หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันและสื่อในเครือ ได้ทำหน้าที่เป็น “กระจกเงา” จริงๆ
อ่านเพิ่มเติม

อภิสิทธิและเอกสิทธิของสื่อ

มีการตั้งคำถามจากผู้คนอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะผู้ที่คิดว่าตนเองได้รับผลกระทบในทางที่ไม่ดีจากการกระทำของสื่อว่า สื่อมีอภิสิทธิเหนือคนอื่นหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่า สื่อจะสามารถเปิดโปงพฤติกรรม ตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ผู้คน องค์กร รัฐและรัฐบาล ได้อย่างเสรี โดยไม่มีใครหรือหน่วยงานใดออกมา ตอบโต้ หรือจัดการกับสื่ออย่างจริงจัง ปล่อยให้สื่อทำอะไรได้ตามใจ จนดูเหมือนว่า สื่อจะมีอภิสิทธิจริงๆ

เมื่อมีคำถามในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ผู้คนอาจเข้าใจจริงๆว่าสื่อมีอภิสิทธิเหนือผู้อื่น ทั้งๆที่ความจริงแล้ว สื่อทั้งในฐานะนิติบุคคลและปัจเจกบุคคลล้วนอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับนิติบุคคลและปัจเจกบุคคลอื่นๆ สื่อมีสิทธิ์ที่จะถูกฟ้องร้องเอาผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิช ประมวลกฎหมายอาญา และตามกฎหมายอื่นๆตามฐานความผิด เมื่อสื่อถูกตัดสินว่าทำผิดก็ต้องรับโทษตามกฎหมายเช่นเดียวกัน แต่ทำไมสื่อจึงถูกมองว่ามีอภิสิทธิเหนือคนอื่น…
อ่านเพิ่มเติม

สื่อยุคดิจิตอล: หรือถึงคราวหมาเฝ้าบ้านเจอศัตรูที่ลื่นไหลจริงๆ

การเรียกขานสื่อว่าแมลงวันก็ดี หรือหมาเฝ้าบ้านก็ดี ล้วนแต่มีความหมายในทางที่ดี สะท้อนการทำหน้าที่ของสื่อ นั่นคือ ในฐานะแมลงวัน เมื่อมีของเน่าเหม็นที่ไหน แมลงวันจะไปตอมที่นั่น อันแสดงนัยให้เห็นว่า เมื่อมีเรื่องไม่ชอบมาพากล มีเรื่องไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น สื่อจะต้องทำหน้าที่เสาะหาข้อเท็จจริงออกมาตีแผ่ให้สังคมรับรู้ เหมือนแมลงวันไปตอมของเน่าเหม็นให้คนรู้ว่ามีของเน่าเหม็นอยู่ที่นั่น ในฐานะหมาเฝ้าบ้าน สื่อทำหน้าที่ส่งเสียงเตือนผู้คนอันเปรียบเสมือนเจ้าของบ้าน ให้รู้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในสังคม เหมือนหมาเฝ้าบ้านที่ส่งเสียงเห่าเตือนเจ้าของ เมื่อมีคนแปลกหน้ามาบ้าน ซึ่งอาจจะเป็นโจรผู้ร้ายหรือผู้ไม่หวังดี หากมีการบุกรุกเข้ามาโดยพละการ หมาเฝ้าบ้านก็ไล่กัดไล่งับเอาได้ เพื่อรักษาประโยชน์เจ้าของบ้าน

ดังนั้นศัตรูของหมาเฝ้าบ้าน หรือเจ้าของบ้านก็คือคนแปลกหน้า โจรผู้ร้าย คนไม่ดี ที่มุ่งหวังจะมาขโมยทรัพย์สินของเจ้าของบ้านนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม

ความเห็นเรื่องสื่อ : เมื่อผมไม่เห็นด้วยกับ สนธิ ลิ้มทองกุล ผมก็ไม่เห็นด้วยกับ จักรภพ เพ็ญแข

กรณีนักวิชาการอาวุโสสองท่าน คือ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ แห่งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำจดหมายเปิดผนึก เตือนสติสื่อว่า อย่าใช้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง ยุยงให้เกลียดชังกัน ยั่งยุให้เกิดความรุนแรง โดยไม่ระบุว่าเป็นสื่อใด ดังที่สังคมได้รับรู้และเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อมาอยู่ในขณะนี้นั้น

เมื่ออ่านแล้วและตีความตามเนื้อหาที่ท่านอาจารย์ทั้งสองได้กล่าวไว้ ผม (ไม่เกี่ยวกับท่านอาจารย์ทั้งสองหรือใครคนใด) เข้าใจว่า สื่อดังกล่าวก็คือสื่อในเครือผู้จัดการ ของ สนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มาจนถึงปัจจุบันที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และสื่อในเครือผู้จัดการที่มีบทบาทเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองของพันธมิตรฯ ก็คือ ASTV News1 และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน รวมถึงเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการด้วย

การใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองนั้น สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้เป็นเจ้าของ ได้ประกาศโดยเปิดเผยแล้วว่า ตนเลือกที่จะยืนอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทย ที่เว้นวรรคไปหลังการรัฐประหาร 9 กันยายน 2549 และกลับมาอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง 23 มกราคม 2551 ในชื่อพรรคพลังประชาชนและมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นตัวแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนั้น พันธมิตรประชาธิปไตย สนธิ ลิ้มทองกุล และสื่อในเครือผู้จัดการจึงกลับมาดำเนินงานทางการเมืองต่อ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
อ่านเพิ่มเติม

แปลงโฉมสู่เว็บ Web 2.0 การปรับตัวของ Bangkokbiznews.com

ปัจจุบันการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ไม่ใช่เพียงแค่การให้ข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียวแล้ว หากแต่พัฒนาไปสู่การสื่อสารสองทางที่ผู้รับสารสามารถโต้ตอบกลับได้ทันที ผ่านการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อต่างๆ ทั้งเว็บไซต์ของสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และตัวเว็บไซต์เองก็เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่ออุดช่องว่างของสื่อหลักๆดังกล่าว นั่นคือ การกระจายข้อมูลข่าวสารได้กว้างขวางขึ้น อายุข่าวสารยาวนานขึ้น และ ผู้รับสามารถสื่อสารกลับในฉับพลัน ซึ่งสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ไม่สามารถทำได้

พัฒนาการของเว็บไซต์ที่ปรากฏโฉมครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะแรกเรียกขานกันว่า Web 1.0 ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารในแบบสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งสารกำหนดเนื้อหาเองทั้งหมด ผู้รับสารมีหน้าที่รับรู้ข่าวสารเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถโต้ตอบได้ ต่อมาพัฒนาเป็นเว็บ 2.0 ในปัจจุบัน ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และรับข้อมูลข่าวสารจากผู้รับสารด้วย แม้ผู้ส่งสารเป็นผู้กำหนดเนื้อหาของข่าวสารเป็นเบื้องต้น แต่ผู้รับสารก็มีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาเป็นลำดับต่อมา ผ่านการแสดงความคิดเห็นที่เป็นอิสระ แสดงปฏิกิริยาต่อข่าวสารที่รับรู้ได้โดยทันที ดังนั้น Web 2.0 จึงเป็นการสื่อสารสองทาง และเป็นการร่วมกันสร้างเนื้อหาระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร นอกเหนือจากการให้ข้อมูลข่าวสารแล้ว ยังเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันด้วย

อ่านเพิ่มเติม

เมื่อสื่อถูกใช้ปั้นน้ำเป็นตัว อะไรจะขึ้นกับคนและสังคม

เมื่อเช้าวันนี้ (7 พฤษภาคม 2551) ผมฟังวิทยุคลื่น 96.5 อสมท. รายการ “เช้าทันโลก” ขณะขับรถบนท้องถนนอันแออัดด้วยรถยนต์ของกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาหกโมงครึ่งถึงเจ็ดโมง และกลับมาฟังซ้ำที่เว็บไซต์ MCOT  ในตอนเย็น ผู้ดำเนินรายการคือ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ได้พูดคุยกับ    ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วง Big Story ประเด็นที่พูดคุยกันก็คือ “สื่อมวลชนกับความรุนแรง” ฟังแล้วได้เห็นอิทธิพลของสื่อที่มีต่อความคิดและพฤติกรรมของคนชัดเจนขึ้น

ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นนักวิชาการที่เผยแพร่แนวคิดอหิงสา หรือการต่อสู้ด้วยสันติวิธี (Non-Violent) ต่อต้านการใช้ความรุนแรง ซึ่งบทบาทของอาจารย์ชัยวัฒน์ที่ผ่านมา ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องความคิดอหิงสาอีกคนหนึ่งของสังคมไทย

ประเด็นที่อาจารย์ชัยวัฒน์ได้พุดคุยกับคุณกรรณิการ์ได้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทอันสำคัญของสื่อ ในการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนให้เกิดการใช้ความรุนแรงได้ โดยได้ยกตัวอย่างสื่อในประเทศระวันดา ในปี 1994โดยเฉพาะวิทยุที่ได้เผยแพร่ข่าวสารคำพูดปลุกเร้าให้เกิดการเกลียดชังกันระหว่างเผ่าพันธุ์ โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ได้บอกเล่าถึงการตัดสินของศาลอาญาระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในประเทศระวันดา ปี 2003 เพื่อพิจารณาคดีเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดังกล่าว ศาลได้ตัดสินให้ผู้ประกาศข่าววิทยุ 2 คนกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ 1 คน ข้อหามีความผิดฐานยุยงให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

อ่านเพิ่มเติม